มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นผู้ที่มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนรู้ การวิจัยและถ่ายทอดให้แก่ชุมชน รวมถึงการเป็นที่พึ่งของชุมชนได้ การจัดการเรียนการสอนและการบริการวิชาการร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง นอกจากจะเป็นการสนองงานตามพระราชดำริแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยอีกด้วย โครงการโรงเรียนในชุมชน (RMUTL School in community) ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงและพื้นที่รับผิดชอบโดยรอบนี้ นอกจากจะสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการหลวงในการพัฒนาและให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชนบนพื้นที่สูงแล้ว คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนายังสามารถช่วยในการให้ความรู้แก่บุคลากรในโครงการหลวง ชาวบ้าน และเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รอบโครงการหลวง ในการสร้างอาชีพ และการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ รวมถึงเกษตรกรคืนถิ่นให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบโครงการหลวง ทาให้เยาวชนสามารถเรียนหนังสือได้ในพื้นที่และฝึกปฏิบัติได้ในสวนหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของตนเอง ทำให้เกิดทักษะในการทำงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ รวมถึงสามารถเก็บหน่วยกิตในการเรียนในธนาคารหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยและสามารถที่จะเทียบโอนเข้าศึกษาเพิ่มเติมให้ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิปริญญาตรีได้ ซึ่งโครงการนี้จะช่วยพัฒนาให้เกษตรกรและคนในชุมชนมีอาชีพและเพิ่มทักษะในการทางานช่วยยกระดับการผลิตผลผลิตทางการเกษตร และมีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพเพิ่มขึ้น
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ดำเนินโครงการโรงเรียนในชุมชน (School in Community) ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงและชุมชนโดยรอบดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 ณ ชุมชนบ้านแม่ป่าก่อ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สกัดโจทย์การแก้ไขปัญหาในชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 ร่าง Module เพื่อแก้ไขปัญหา จานวน 5 Module
Module 1 : การบริหารสินค้าเกษตรบนพื้นที่สูง (Highland Product Managerial)
Module 2 : การพัฒนาศักยภาพชุมชนเกษตรบนพื้นที่สูงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
Module 3 : การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์เล็กทางการเกษตร
Module 4 : การปลูกผักในโรงเรือนแบบอินทรีย์
Module 5 : การปลูกผักในโรงเรือนและการเพิ่มมูลค่าผักอินทรีย์
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนดำเนินการ : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่ชาวบ้านและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รอบมูลนิธิโครงการหลวง
การดำเนินงานทำให้เกิดความร่วมมือกับมูลนิธิโครงการหลวงในการร่วมพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรในมูลนิธิโครงการหลวง ชาวบ้าน และเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รอบมูลนิธิโครงการหลวง และการจัดการเรียนการสอนหรือบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น