มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ โดย ดร.นวรัตน์ พรหมอุปถัมภ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวหน้าโครงการ เมืองคองโมเดล หมู่บ้านนวัตกรรมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ประจำปี 2566 แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมโดยการนำความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการประมง คือ การเพาะเลี้ยงปลากลมมอนในระบบปิดเพื่อการอนุรักษ์ นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้ทฤษฎีป่าให้สี นวัตกรรมด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ และการส่งเสริมการตลาดดิจิทัล ในปีแรก ปี 2565 เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ดี การพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆในปีแรกนั้น ยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตามแผนงานที่วางไว้ในปีที่ 2 คือ ปี 2566 เช่น ด้านการประมงเพาะเลี้ยงปลากลมมอน ต้องมีการขยายผลให้ชุมชนมีองค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยง และอนุบาลปลากลมมอนได้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์พันธุ์ปลาไปสู่ชุมชนอื่นตลอดลำน้ำคองและลำน้ำแตง รวมทั้งการรวบรวม และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดูแล อนุรักษ์สายพันธุ์ปลาท้องถิ่น ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึงกิโลกรัมละ 500-800 บาท
วัตถุประสงค์
- เพื่อนำความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืนและส่งเสริมการตลาดออนไลน์อย่างเป็นระบบ
- เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาต้นแบบระบบปิดสำหรับเพาะเลี้ยงปลากลมมอนแบบมีส่วนร่วม.
และสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ปลากลมมอญให้แก่ชุมชน
กิจกรรมหลัก คือ การคัดเลือกแม่พันธุ์ปลา การพัฒนาต้นแบบบ่อเพาะเลี้ยงปลาระบบปิด และการอนุบาลปลาในระยะยาว ระหว่างวันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2566 โดย ผศ.ดร.อมรชัย ล้อทองคำ อาจารย์ประจำหลักสูตร วท.บ.เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ น่าน
การดำเนินกิจกรรมคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลา ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนทั้ง 6 หมู่บ้าน และการคัดเลือกสถานที่จับแม่พันธุ์ปลา ในช่วงดำเนินโครงการโดยการขออนุญาตจับในเขตอนุรักษ์ ทำให้ได้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลากลมมอนที่สมบูรณ์ โดยมีเยาวชนในพื้นที่ เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการจับ และคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลากลมมอน ร่วมกับคณะทำงานในพื้นที่
ในช่วงการเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 14 วัน ได้มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการฉีดฮอร์โมนปลามอนให้แก่ ผู้แทนชุมชน สามารถฉีดฮอร์โมนปลาได้เพียง 1 คน และยังต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของทีมวิทยากร จึงได้วางแผนสำหรับการทำงานในปี 2567 ที่ต้องมุ่งเน้นให้ผู้แทนชุมชนจากกลุ่มเพาะเลี้ยงปลามอน สามารถดำเนินการผสมตัวยา และฉีดฮอร์โมนปลาได้ด้วยตนเอง
ด้านบ่อเพาะเลี้ยงปลากลมมอน ในปีนี้ ใช้บ่อไฟเบอร์กลาส ร่วมกับ บ่อปูน พบว่า ลูกปลามีอัตราการเพาะดี แต่มีปัญหาด้านการติดเชื้อจากบ่อไฟเบอร์กลาส ในปีต่อไปจะทำการปรับปรุงรูปแบบ และขนาดของบ่อปลาให้มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยการปรับบ่อเป็นแนวยาว และมีระบบกรองน้ำ รวมทั้งระบบน้ำไหลเพื่อจำลองธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อความแข็งแรงของลูกปลาที่เพาะเลี้ยงในบ่อ
กิจกรรมปล่อยปลามอญที่ตำบลเมืองคองสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หลายข้อ ดังนี้:
- SDG ข้อที่ 14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศทางน้ำ ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นและส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน - SDG ข้อที่ 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการฟื้นฟูระบบนิเวศที่อยู่ติดกับแหล่งน้ำ เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่ทางธรรมชาติ - SDG ข้อที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กิจกรรมนี้ยังสร้างโอกาสในการรวมพลังของชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน - SDG ข้อที่ 6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน
การปล่อยปลามอญในแหล่งน้ำเป็นการส่งเสริมความสมดุลของระบบนิเวศทางน้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการจัดการน้ำที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของชุมชนในระยะยาว