Driving Economic Growth: The Launch of Agroforestry and Medicinal Plant Center by RMUTL and Kasikorn Foundation

โดย จุรีพร เลือกหา
วันที่ : 11 เมษายน 2565-11 เมษายน 2570

บทความนี้มีความเกี่ยวข้องกับ SDG 11.2.4 ซึ่งเน้นการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยการจัดตั้งศูนย์แปรรูปพฤกษเภสัชที่มุ่งเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากพืชยาและสร้างงานในชุมชน ช่วยยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นและทำให้ประชาชนเข้าถึงประโยชน์จากพื้นที่สีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 11 เมษายน  2565  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับมูลนิธิกสิกรไทย โดยสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวทจัดตั้งศูนย์วนเกษตร–พฤกษเภสัช  โดยมีคุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการมูลนิธิกสิกรไทย ร่วมลงนามความร่วมมือในด้านวิชาการ ปฏิบัติการ ทรัพยากร และบุคลากร ในการจัดตั้งศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (Pharma-Agroforestry District: PAD) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศส่วนต้นน้ำและกลางน้ำของห่วงโซ่คุณค่าใหม่ในการปลูกพืชให้เป็นยา โดยร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ รวบรวม วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงทั้งเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ตลอดจนบูรณาการองค์ความรู้ในลักษณะสหวิชาชีพเพื่อถ่ายทอดให้แก่ชุมชน และนักศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดตั้งศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (Pharma-Agroforestry District: PAD) ที่จะสร้างนวัตกรรมทางพฤกษเภสัชด้วยการปลูกพืชให้เป็นยาณ มทร.ล้านนา น่าน นั้นจะเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอนทางด้านเกษตรศาสตร์ วิทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสามารถบูรณาการศาสตร์ความชี่ยวชาญต่างๆ เข้าด้วยกัน  ซึ่งการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับทางมูลนิธิกสิกรไทยจะเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการศึกษาวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืช ไปเป็นยา ส่งต่อองค์ความรู้ดังกล่าวไปยังเกษตรกรในพื้นที่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืช  สร้างรายได้สู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจส่งผลต่อการพัฒนาระดับชาติและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน สังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการมูลนิธิกสิกรไทย กล่าวว่า “ ในนามของมูลนิธิกสิกรไทย โดยสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวท มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งทึ่ได้ร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา การร่วมมือทางด้านการเกษตรและการเกษตรนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นการเกษตรทางด้าน เกษตร-พฤกษเภสัช นั้นเป็นภารกิจสำคัญของสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวทโดยมูลนิธิกสิกรไทยที่จะสร้างนวัตกรรมทางพฤกษเภสัชด้วยการปลูกพืชให้เป็นยา สร้างมูลค่าเพิ่มจากต้นน้ำถึงปลายน้ำจากหลากหลายสาขาขององค์ความรู้ (E2E Multidisciplinary Value Chain Re-Creating) เพื่อให้คนน่านสามารถอยู่ร่วมกับป่า แก้ปัญหารายได้ให้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งการคืนกลับมาของป่าต้นน้ำ ตามแนวทาง 72 18 10  ของโครงการน่าน แซนด์บ็อกซ์ (Nan Sandbox) โดยทางมูลนิธิจะเข้ามาร่วมผลักดันการปลูกพืชที่เป็นยา ผ่านศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (Pharma-Agroforestry District: PAD) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ซึ่งศูนย์นี้จะเป็นแหล่งรับถ่ายทอดและบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อเป็นต้นแบบการสร้าง และรวบรวมนวัตกรรมเพื่อชุมชน ทางด้านการพัฒนาสายพันธุ์ การปลูกและการสกัดสารออกฤทธิ์สำคัญจากพืชและถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวไปยังเกษตรกร เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มนอกจากนี้ยังเป็นการ พัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ที่จะมีบูรณาการหลักสูตรการศึกษาที่สร้างขีดความสามารถใหม่ให้กับประเทศไทย จะส่งผลให้เกิดการการพัฒนานักศึกษา บุคลากรเศรษฐกิจ ชุมชน พร้อมยังเป็นการช่วยฟื้นคืนป่าน่านอันเป็นป่าต้นน้ำของประเทศ ทางมูลนิธิมีความเชื่อมั่นความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางและยั่งยืนต่อไป”

ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (Pharma-Agroforestry District: PAD) ครั้งนี้มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ดำเนินการ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วิโรจน์ มงคลเทพ ผู้ช่วยอธิการบดี น่าน  พร้อมบุคลากร นักศึกษา ร่วมดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

 

  • SDG 3: Good Health and Well-being: เนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชเป็นยาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
  • SDG 4: Quality Education: การถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษาและชุมชน
  • SDG 8: Decent Work and Economic Growth: การสร้างอุตสาหกรรมใหม่และเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกร
  • SDG 15: Life on Land: การฟื้นฟูป่าและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

https://personal.rmutl.ac.th/news/18613-มทรล้านนา-จับมือ-มูลนิธิกสิกรไทย-ตั้งศูนย์วนเกษตร

ผศ.ดร.ชุติสร เรืองนาราบ รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ผศ.ดร.พชร สายปาระ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มทร.ล้านนา น่าน ร่วมพิธีเปิดศูนย์แปรรูปพฤกษเภสัช (Phytomass Process Center : PPC) หน่วยบริการวิชาการพัฒนานวัตกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่าพืชยา ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (PAD) ณ มทร.ล้านนา น่าน ผศ.ดร.รัชณีภรณ์ อิ่นคำ ผู้อำนวยการร่วมศูนย์วนเกษตร–พฤกษเภสัช พร้อมบุคลากรศูนย์ PAD ร่วมพิธีและให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567

โดยการเปิดศูนย์แปรรูปพฤกษเภสัช (Phytomass Process Center : PPC) ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช เป็นความร่วมมือระหว่าง มทร.ล้านนา น่าน และ มูลนิธิกสิกรไทย ภายใต้โครงการน่าน แซนด์บอกซ์ ได้เลือกเส้นทางการปลูกพืชยาใต้ป่า (Non-Timber Forest Product: Medicinal Plants) เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตต่อพื้นที่ให้ได้สูงที่สุด ซึ่งการมุ่งเป้าให้สามารถพัฒนาพืชใต้ป่า ให้เป็นยาที่มีตลาดแน่นอน และเป็นที่ยอมรับของการแพทย์แผนปัจจุบัน ในการจัดตั้งศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (PAD) ณ มทร.ล้านนา น่าน เป็นพื้นที่ทดสอบการปลูกพืชยาและหาสภาวะการปลูกที่เหมาะสม โดยเฉพาะการปลูกพืชใต้ป่า เพื่อให้ได้ปริมาณสารสำคัญออกฤทธิ์ทางยาสูงและสม่ำเสมอ ซึ่งขณะนี้มีพืชยาที่อยู่ในโครงการวิจัยกว่า 30 ชนิด อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมการแปรรูปพืชยาที่มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างคุ้มค่าและได้มาตรฐานสากล ด้วยต้นทุนคุ้มค่าในการผลิตแปรรูปพืชยา ให้ได้สารสำคัญสูง และสามารถพัฒนาผู้ประกอบการ สร้างงานในชุมชนยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างแท้จริงและยั่งยืน

https://www.chiangmainews.co.th/social/3381064/