การออกแบบจากต้นน้ำหลวง@เมืองกุงเชียงใหม่

โดย จุรีพร เลือกหา
วันที่ : 15 พฤศจิกายน 2566

ถอดบทเรียนความรู้ตลาดชุมชนเครื่องปั้นดินเผา กรณี หมู่บ้านเมืองกุง ตำบลสันผักหวาน จังหวัดเชียงใหม่จากศึกษารูปแบบการดำเนินงานตลาดของชุมชน จากการดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาย่านวัฒนธรรมชุมชนและการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีและสร้างวัฒนธรรมใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ 2565 ถึงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ 2566 ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับชุมชนบ้านเมืองกุง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านในชุมชนอย่างยั่งยืน ตลอดจนปัจจัยข้อดีข้อเสียที่มีโอกาสที่มีผลต่อการพัฒนาในอนาคต เริ่มตั้งแต่ร่วมกำหนดโจทย์กำหนดเครื่องมือขั้นตอนและรายละเอียดรวมไปถึงการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การออกแบบ และการสรุปผลการดำเนินงาน

การถอดบทเรียนและพัฒนาตลาดชุมชนเครื่องปั้นดินเผา หมู่บ้านเมืองกุง สอดคล้องกับ SDG 11.2.5 และ SDG 11.2.6 เพราะส่งเสริมศิลปะพื้นบ้านและอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมโดยมีการฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่นผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา นอกจากนี้ โครงการยังสอดคล้องกับ:

  1. SDG 8: การทำงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ – ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนผ่านการสร้างตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
  2. SDG 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน – มีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน

https://cttc.rmutl.ac.th/news/23468-2023-11-15

https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2023/11/20231120120342_38848.pdf