มหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมย่อยภายใต้ ”โครงการปฏิรูประบบและกลไก การนาํ ผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างทรัพย์สินทางปญญาและสร้างรายได้เชิงพาณิชย์“โดยได้ดาํ เนินกิจกรรมทีสนับสนุนการปฏิรูประบบและกลไกด้านการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยรวมถึงการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เปนศูนย์บริการด้านงานนวัตกรรมถ่ายทอด เทคโนโลยี และ Co-Working Space ของมหาวิทยาลัย เพื่อจัดกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับงานนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยในลักษณะ Service Provider – SP ของมหาวิทยาลัย เป็นสถานที่กลางหรือ IP Hub ของมหาวิทยาลัยฯ และเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่เชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น โดยมีกิจกรรม 8 กิจกรรม ซึ่งรวมถึงโครงการปรับปรุงอาคารสร้างพื้นที่ทำงานอย่างยังยืน SDG 11.4.9 ซึ่งเน้นการ ปกป้องและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก โดยเฉพาะการจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน อาคารที่พัฒนาขึ้นในพื้นที่รกร้างสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยและส่งเสริมการฟื้นฟูเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและน่าอยู่อาศัยมากขึ้น ตลอดจนลดการบุกรุกพื้นที่ธรรมชาติใหม่ โดยมีการเลือกใช้พื้นที่อาคารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีความทรุดโทรมนำมาปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์ต่อ
ชื่อกิจกรรม: กิจกรรมที่ 8 ปรับปรุงอาคาร สร้างพื้นที่ทำงานอย่างยั่งยืน
ผู้รับผิดชอบภายใต้เสาหลัก: เสาที่ 1 การปฏิรูปงานวิจัยและบริการวิชาการ (USAIL)
ผู้รับผิดชอบ: พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
งบประมาณที่ได้รับ: 1,073,960 บาท
กิจกรรมนี้ยังสอดคล้องกับ SDG 9 (Industry, Innovation, and Infrastructure) โดยตรง เนื่องจากสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมภายในมหาวิทยาลัย และ SDG 8 (Decent Work and Economic Growth) เพราะมีเป้าหมายในการสร้างรายได้เชิงพาณิชย์จากทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์บริการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการสร้าง Co-Working Space สนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยั่งยืน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการ รวมไปถึงสนับสนุน