มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กำหนดยุทธศาสตร์ในการปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง (University Transformation) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Technology disruption, Digital disruption เป็นต้น เพื่อให้มีการดำเนินงาน
ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) พัฒนานักปฏิบัติทักษะสูงด้วยเทคโนโลยี (และความคิดสร้างสรรค์) และบ่มเพาะนวัตกรมืออาชีพ สำหรับภาคประกอบการทุกพื้นที่ 2) Transforming Agriculture, Industry, Tourism, ด้วยนวัตกรรมจาก “ONE RMUT” 3) Empowering Entrepreneur & Community ด้วย United effort/ platform บนความหลากหลายของขีดความสามารถของ มทร. / characteristic และ 4) Accelerating RMUT Digital Transformation (Smart people, Smart management, Smart workplace) โดยเน้นย้ำการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและนวัตกร และผู้ประกอบการได้รับการยกระดับทักษะจาก มทร. มีสมรรถนะและทักษะสูง มีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีละนวัตกรรมของภาคเกษตรและอุตสาหกรรม และบริการตามอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นและพื้นที่เป้าหมาย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นฐานการพัฒนาตามศักยภาพและความโดดเด่นของพื้นที่ตั้งทั้ง 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน ตาก และพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดพันธกิจที่ 2 ผลิตผลงานวิจัยและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ ภายใต้พัฒนายุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมืออาชีพเพื่อสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์สำหรับ
การยกระดับ ชุมชน สังคม โดยมุ่งเน้นเพิ่มจำนวน 1) สถานประกอบการที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมและนำไปใช้ให้เกิดผล 2) จำนวนสถานประกอบการที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ มีการยกระดับสมรรถนะในการประกอบการสูงขึ้น 3) สถานประกอบการฯ พัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย และ 4) สถานประกอบการฯ พัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยความคิดสร้างสรรค์ทำให้ลดต้นทุน/กำไรสูงขึ้น/รายได้สูงขึ้น โดยใช้กลไกเชิงแผนงานการสร้างและพัฒนากลุ่มวิจัย หน่วยวิจัย ศูนย์วิจัย และศูนย์ความเชี่ยวชาญ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นโหนดที่ใช้ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการสร้างสรรค์ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นความเชี่ยวชาญของสู่ผู้ประกอบการ สถานประกอบการ และภาคอุตสาหกรรม
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มุ่งมั่นพัฒนาผู้ประกอบการมืออาชีพบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยตระหนักถึงความสำคัญการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอย่างมืออาชีพเพื่อสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์สำหรับการยกระดับ ชุมชน สังคม
โดยมุ่งเน้นเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ สถานประกอบการ และภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการสร้างสรรค์ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นความเชี่ยวชาญของบุคลากร ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ (BALA Excellence Center) ประกอบ 4 หน่วย/ศูนย์ ได้แก่ หน่วยพัฒนาศักยภาพด้านบริหารธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (BEU) หน่วยวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ (TMU) หน่วยบริการวิชาชีพการบัญชี (PAU) และศูนย์ภาษา จึงได้จัดโครงการ “The 1st BALA Forum on Entrepreneurship, Tourism and MICE Suitability” เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐกับทุกหน่วยฯ ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
วัตถุประสงค์
1 เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมและนำไปใช้ให้เกิดผลยกระดับสมรรถนะในการประกอบการสูงขึ้น
2 เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการที่ได้รับการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย รวมถึงลดต้นทุนและมีกำไรสูงขึ้นหรือรายได้สูงขึ้น
3 เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและหน่วยงานภาครัฐกับทุกหน่วยฯ ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์